
ดนตรีบำบัด ศาสตร์แห่งแพทย์ทางเลือกที่คนยุคโควิดต้องพึ่งพา
ความเครียดอาจจะส่งผลร้ายแรงถึงการตัดสินใจจบชีวิต
ตอนนี้สถานการณ์โควิดในไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิตรายวัน และจำนวนผู้ที่รอรับการรักษาอยู่นั้นมีจำนวนที่เยอะขึ้นมากกว่าปีก่อนหลายเท่าตัว และคงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ความรุนแรงเหล่านี้จะทำให้เราแทบทุกคนเกิด ‘ความเครียดสะสม’
ทั้งความเครียดเรื่องโรค ความเครียดในการทำงาน การใช้ชีวิต สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเศรษฐกิจ ทำให้ทุกวันนี้เราได้เห็นข่าวการฆ่าตัวตายที่น่าหดหู่ เพราะพวกเขาเหล่านั้นอาจจะเดินทางมาจนสุดทางตัน หมดหนทางในการแก้ไขปัญหาแล้ว
ความเครียดคืออะไร?
ความเครียดเกิดขึ้นมาจากภาวะทางอารมณ์ ความรู้สึก ที่ถูกบีบคั้น หรือถูกกดดัน (อาจมาจากหลายปัจจัย หรือปัจจัยเดิม ๆ ที่พบบ่อยครั้ง) ซึ่งความเครียดเหล่านี้หากไม่ได้รับการระบายหรือการจัดการที่ถูกวิธี แน่นอนว่ามันจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และสามารถแปรเปลี่ยนไปสู่โรคซึมเศร้าได้ หากไม่สามารถจะจัดการความเครียดได้ด้วยเองได้ ก็ควรเข้าพบจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

แต่หากใครที่ยังพร้อมสู้หรืออยากไปต่อ ก็จำเป็นจะต้องเริ่มจัดการความเครียดเหล่านี้ด้วยตัวเองดูสักตั้ง โดย ‘ดนตรีบำบัด’ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาผู้ป่วย และพัฒนาศักยภาพทางด้านอารมณ์ ร่างกาย ความคิด และจิตใจ
ดนตรีบำบัด คืออะไร?
ทฤษฎีดนตรีบำบัด หรือ Music Therapy ถือเป็นทฤษฎีที่วงการแพทย์ได้หยิบศาสตร์จิตวิทยาและศิลป์ทางดนตรีเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยในวงการแพทย์ยกให้ดนตรีบำบัดมาเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาอาการป่วยทางใจให้คนคลายความกังวลและลดความเครียดที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย (อ้างอิง โรงพยาบาลเปาโล) ที่ได้มีการศึกษาเรื่องของการฟังดนตรีบำบัดของผู้ป่วยที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ว่าสิ่งเหล่านี้สามารถลดความเครียดและความกังวลได้จริง เพราะฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความเครียดมีจำนวนที่ลดน้อยลงมากกว่าการใช้ยาลดความเครียดเสียอีก
นอกจากนี้ดนตรีบำบัดยังช่วยลดภาวะซึมเศร้า จะเริ่มปรับจากอารมณ์ให้สงบ นอนหลับได้ง่ายขึ้น ช่วยกระตุ้นสมอง และปรับระดับ Cortisol ฮอร์โมนที่มีผลต่อความเครียด ที่สำคัญดนตรีบำบัดยังไม่ได้มีการจำกัดว่าคุณจะต้องเลือกฟังเพลงแบบไหน เพราะคุณสามารถฟังได้ทุกประเภททั้งคลาสสิค สตริง ลูกทุ่ง หรือแม้แต่ Hiphop ฯลฯ

สงสัยหรือไม่ ดนตรีบำบัด…ช่วยบำบัดยังไง ?
จังหวะดนตรี
- อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ 70-80 ครั้ง/นาที ซึ่งหากเปิดดนตรีที่มีจังหวะประมาณนี้ จะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ จากการที่สมองหลั่งสารแห่งความสุขออกมา
ความดังของเสียง
- เสียงที่เบานุ่ม ฟังง่าย จะช่วยให้คุณเกิดความสงบสุขและสบายใจ แต่ในขณะเดียวกันระดับเสียงที่สูงหรือดัง จะทำให้เกิดการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อได้ดี
การประสานเสียง
- ดนตรีที่มีการประสานเสียง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจัดการหรือควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ โดยการร้องเพลงร่วมกันหลาย ๆ คน หลาย ๆ เสียง จะช่วยให้ระดับอารมณ์ของผู้ป่วยเย็นลง อีกทั้งยังสามารถช่วยวัดระดับอารมณ์และความรู้สึกเพื่อประเมินการรักษาได้ด้วยนะ
ทำนองเพลง
- ทำนองเพลงและเนื้อเพลง เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงอารมณ์เพลงได้ดีที่สุด เพราะฉะนั้นการเปิดบทเพลงที่ผู้ป่วยชื่นชอบก็จะช่วยให้เกิดการกระตุ้นและระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจได้ จนสุดท้ายตัวผู้ป่วยก็จะสามารถลดความกังวลได้นั่นเอง

และแม้ว่าดนตรีบำบัดจะไม่มีส่วนช่วยทำให้โรคร้ายแรงหายได้ แต่เสียงดนตรีที่ผู้ป่วยได้ฟังจะเหมือนกับการ Healing จิตใจ และช่วยรักษาโรคร้ายแบบทางอ้อมได้ เมื่อผู้ป่วยได้ฟังบทเพลงต่าง ๆ ก็เหมือนกับการได้รับพลังงานบวก ได้รับความสุข และพร้อมที่เข้ารับการรักษาทางด้านร่างกายต่อไป
สุดท้ายแล้วดนตรีไม่ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาสำหรับผู้ที่มีอาการป่วยเท่านั้น แต่สำหรับคนไม่ป่วยหรือไม่ได้มีอาการใด ๆ ก็สามารถฟังดนตรีเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เพื่อความสบายใจ และเพื่อความเพลิดเพลินได้ เช่นเดียวกับการเล่นgclub เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ ที่ให้ทั้งความสนุกและความบันเทิงนั่นเอง