Tip

รับมืออย่างไรเมื่อเข้าสู่ “วัยทอง” เช็คดูคุณเข้าข่ายแล้วยัง

อารมณ์แปรปรวน รู้สึกร้อนวูบวาบ มีความกังวล ซึมเศร้า บางทีสิ่งเหล่านี้อาจไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้าอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือน ‘วัยทอง’ ที่เกิดขึ้นได้เมื่อคนเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น และนอกจากอายุแล้วอาการแบบไหนล่ะ ที่บอกว่าคุณกำลังตกอยู่ในภาวะวัยทอง เพื่อไม่ให้พลาดวันนี้เรามีความรู้ดี ๆ มาฝาก

วัยทองคืออะไร? อาการเป็นอย่างไร

วัยทอง (Menopause) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับกลุ่มสุภาพสตรีที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดยรังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่าเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตประจำเดือนได้แล้ว และเฉลี่ยแล้วผู้หญิงไทยที่เข้าสู่วัยทองจะมีอายุประมาณ 48 – 52 ปี ดังนั้นหากคุณอยู่ในช่วงอายุดังกล่าวแล้วประจำเดือนขาดหายไปครบ 1 ปี หมายความว่ารังไข่ได้หยุดทำงานแล้ว และถือว่าเข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ และสาว ๆ หลายคนก็เริ่มตั้งคำถามว่านอกจากเรื่องอายุและการหมดประจำเดือนที่เป็นสัญญาณของวัยทอง วัยทองมีอาการอื่น ๆ ที่เข้าข่ายอีกหรือไม่ คำตอบคือมี โดยอาการวัยทองที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัด มีดังนี้

  • มีอาการร้อนวูบวาบ (hot flush) เกิดขึ้นหลายจุดโดยเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนบน เช่น บริเวณหน้า ลำคอ และหน้าอก มักมีอาการเกิดขึ้นนานประมาณ 15 นาที ร่วมกันกับอาการอื่น ๆ ได้แก่ เหงื่อออก หนาวสั่น วิตกกังว หรือใจสั่น โดยอาการเหล่านี้อาจมีการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้นอนหลับได้ยากขึ้นได้
  • ช่องคลอดแห้ง ติดเชื้อ และคันในช่องคลอด บางรายอาจรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • โรคกระดูกพรุน
  • โรคไขมันในเลือดเพิ่มสูง วัยทองมักมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมากขึ้น เนื่องจากร่างกายขาดเอสโตรเจน เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำหน้าที่สำคัญในการลดไขมันไม่ดี(LDL) ในร่างกาย
  • มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์
  • เกิดความรู้สึกซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด และมีความวิตกกังวลได้ง่ายขึ้น
  • ผิวหนังแห้งเหี่ยวและบาง ขาดความยืดหยุ่น เป็นแผลและกระได้ง่าย ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าไม่เคยเป็นมาก่อน
วัยทองคืออะไร? อาการเป็นอย่างไร
วัยทองคืออะไร? อาการเป็นอย่างไร

รับมือกับวัยทองได้อย่างไร?

  1. ผู้หญิงวัยทองจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ ปลาตัวเล็ก ผักใบเขียว เป็นต้น โดยแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปจะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน ที่สำคัญจะต้องควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือดด้วยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และเลือกกินอาหารที่ย่อยง่ายเพื่อช่วยในการขับถ่าย
  2. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจจะเลือกเป็นการออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ รำมวยจีน เต้นแอโรบิก เป็นต้น
  3. ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก และทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน ไม่คิดเล็กคิดน้อย
  4. ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจเช็คความดันโลหิต
  • ตรวจเลือดหาระดับไขมัน
  • ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก
  • ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography)
  • ตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density)
  • ตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง
  1. ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน ในกรณีที่สตรีวัยทองมีอาการต่างๆ มาก หรือตรวจพบความผิดปกติ เช่น กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน และมีความจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามความเหมาะสม

และทั้งหมดนี้คือการเตรียมตัวรับมือเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทองที่เรานำมาฝาก หากสาว ๆ คนไหนมีอาการต้องสงสัยจะได้ช่วยรับมือได้อย่างทันการ เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่อาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อคุณเข้าสู่วัยนี้ และหากอาการเหล่านี้เริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แนะนำให้ทำประกันสุขภาพเพื่อไว้ใช้เข้าปรึกษาและตรวจสุขภาพวัยทองกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาว และเพื่อให้ตัวคุณรวมถึงคนรอบข้างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

หวนความหลัง เทศกาลดนตรีไลฟ์สไตล์ยอดนิยมที่คนทั่วโลกคิดถึง

นอกจากร้านอาหาร ธรรมชาติ และสถาปัตยกรรมที่งามตาจะเป็นคความนิยมของคนชอบเที่ยวแล้ว ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าช่วงหลายต่อหลายปีที่ผ่านมานี้ เทศกาลดนตรีระดับโลกได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของคน โดยผู้ที่ชื่นชอบก็มีความใฝ่ฝันที่ตรงกันว่าครั้งหนึ่งฉันต้องได้เก็บเสื้อผ้าแล้วเดินทางไปสัมผัสด้วยตา ฟังด้วยหูดูสักครั้งให้ได้ Coachella เทศกาลดนตรีระดับโลกถูกเลื่อนเพราะโควิด Coachella […]

ดนตรีบำบัด ศาสตร์แห่งแพทย์ทางเลือกที่คนยุคโควิดต้องพึ่งพา

ความเครียดอาจจะส่งผลร้ายแรงถึงการตัดสินใจจบชีวิต ตอนนี้สถานการณ์โควิดในไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิตรายวัน และจำนวนผู้ที่รอรับการรักษาอยู่นั้นมีจำนวนที่เยอะขึ้นมากกว่าปีก่อนหลายเท่าตัว และคงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ความรุนแรงเหล่านี้จะทำให้เราแทบทุกคนเกิด ‘ความเครียดสะสม’ ทั้งความเครียดเรื่องโรค ความเครียดในการทำงาน การใช้ชีวิต […]

ไม่จำกัดเวลาดูหนัง เสี่ยงเป็น Computer Vision Syndrome

ทำไมหลายคนยกให้การดูหนังเป็นกิจกรรมแก้เครียด ในช่วงโควิดแบบนี้เชื่อว่าหลายคนพยายามหากิจกรรมทำในช่วงกักตัว เพื่อเป็นการแก้เบื่อ แก้เหงา และฆ่าเวลาที่มีเหลือเฟือออกไป ซึ่งการดูหนังผ่านเว็บสตรีมมิ่งต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีตัวเลือกของภาพยนตร์ ซีรีส์ […]