

ความผิดพลาดของละครไทยกับการแพทย์ ทำให้คนเข้าใจผิดกันเยอะ
ความสมจริงของฉากเข้าโรงพยาบาล ที่ผู้ชมต้องการเห็น
วงการหนัง ละคร และซีรีส์ไทย แม้จะพยายามสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา ทั้งตัวละครที่มีความหลากหลาย พล็อตเรื่องใหม่ ๆ การนำเสนอเนื้อหาที่ส่อสังคมมากขึ้น แต่ท้ายที่สุดต้องยอมรับเลยว่าหนึ่งฉากที่มักปรากฏอยู่ในละครทุกเรื่องคือ ‘ฉากเข้าโรงพยาบาล’ หรือ ‘ฉากการปฐมพยาบาล’
ยิ่งเรื่องไหนต้องการชูความโศกเศร้า และความดราม่าเพื่อสร้างความเข้มข้นให้กับหนังด้วยแล้ว ละครเรื่องนั้นก็พยายามจะขยี้สิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกอินไปกับละคร แต่ทว่าสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ‘ความไม่สมจริง’ ของละครไทยกับการแพทย์ จนบางครั้งหนังก็สร้างความโป๊ะและทำให้คนเกิดความเข้าใจผิดมานานมาก ๆ
ดราม่ามาตลอดกับฉากความไม่สมจริงของละครไทย
โดยฉากดังกล่าวอาจจะพูดถึงการเข้ารับการรักษาของตัวละคร ฉากดูแลคนป่วย ฉากการปฐมพยาบาลไม่สมจริง จนทำให้เกิดเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดอย่างเหล่าคนดู ว่าจริง ๆ แล้วละครไทยควรจะใส่ใจเรื่องความเป็นความตายของคนให้มากกว่านี้ ไม่ใช่เพียงแค่หยิบฉากใส่ ๆ ไปโดดยขาดความไตร่ตรองก่อน

แต่หากพูดถึงดราม่าชิ้นใหญ่ที่ละครไทยสร้างเอาไว้ คงต้องย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน กับละครเรื่องเพื่อนรักเพื่อนริษยา ที่ออกอากาศทางช่อง 3 โดยมีฉากจบของเรื่องคือ ‘อุไร’ ที่ในตอนนั้นรับบทโดยคริส หอวัง นอนหมดเรี่ยวแรงอยู่บนเตียง หลังจากป่วยหนักด้วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย สภาพตอนนั้นคือผิวหนังเต็มไปด้วยแผลเหวอะหวะไม่น่ามอง และจบชีวิตลง
แน่นอนว่าปัญหานี้เกิดขึ้นโดยทันทีซึ่งในขณะนั้นเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ได้มีการส่งหนังสือถึงผู้จัดละครว่า ละครเรื่องนี้ตีความผู้ป่วยเอดส์ไม่ถูกต้อง นั่นอาจทำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจผิด พร้อมเรียกร้องให้มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์
อีกทั้ง ความเป็นจริงของผู้ป่วย เมื่อรู้ว่าตัวเองติดเชื้อเอชไอวีก็จะต้องเริ่มรักาด้วยยาต้านไวรัสทันที ที่สำคัญก็ไม่จำเป็นจะต้องป่วยเป็นเอดส์ด้วย เพราะยิ่งได้รับยาเร็วเท่าไหร่ ภูมิคุ้มกันในร่างกายก็จะดีเท่านั้น และสามารถใช้ชีวิตได้ไม่แตกต่างกับคนทั่วไป
ถึงเวลาแล้วยังที่ละครไทย จะสร้างฉากเข้าโรงพยาบาลให้สมจริง
นอกจากนี้ยังมีฉากอื่น ๆ เกี่ยวกับฉากทางการแพทย์ ที่เกิดความผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัยของวงการละครไทย ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 4 เรื่องหลัก ดังนี้
Makeup ไม่สมจริง

นี่ถือเป็นเรื่องโป๊ะแรก ๆ ที่สร้างความขำขันให้กับผู้ชม เพราะฉากที่ตัวละครป่วยมาก ๆ คงไม่มีใครติดขนตาสะพรึงจัดเต็มหรอกจริงไหม นอกจากนี้แล้วโดยปกติคนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัดหรือเข้าห้องคลอด จะต้องลบเครื่องสำอางออกให้หมด ล้างน้ำยาทาเล็บ (ปัจจุบันมีโรงพยาบาลบางแห่งอนุญาตให้แต่งแบบเบาๆ) สาเหตุที่มีข้อห้ามเป็นเพราะแพทย์ต้องการดูผิวหน้าของคนไข้ที่เปลี่ยนไปหากเกิดความผิดปกติหลังผ่าตัด ส่วนน้ำยาทาเล็บก็มีผลต่อความอิ่มตัวของออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงนั่นเอง
การ CPR เพื่อปั๊มหัวใจ

การ CPR ถือเป็นนาทีชีวิตเลยก็ได้ ซึ่งเรื่องนี้อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันจริง ๆ เพราะงั้นแล้วการที่ละครปรากฏฉาก CPR ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้คนเกิดภาพจำที่ดี อย่างที่ภาพข้างต้นคือการปั๊มหัวใจที่ถูกต้อง คือตรงบริเวณกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่เล็กน้อย หรือระหว่างหัวนม 2 ข้าง มาตรงกลาง แต่สำหรับละครบางเรื่องบ้างก็กดหน้าอก บ้างก็กดท้อง ซึ่งนั่นถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ๆ (หากคนทำในชีวิตจริง)
ช็อคไฟฟ้าแล้วฟื้น

การช็อคไฟฟ้ากระตุกหัวใจ (defibrillation) จะใช้ได้เพียงแค่กรณีที่ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วพบความผิดปกติ แต่ไม่มีชีพจรเท่านั้น แต่ในกรณีที่คลื่นไฟฟ้าเป็นเส้นตรงยาว การช็อคไฟฟ้ากลับไม่มีประโยชน์ ทำได้เพียงแค่ CPR ต่อไปเรื่อย ๆ
การแจ้งข่าวร้ายให้ญาติผู้ป่วยฟัง

เชื่อว่าข้อนี้หลายคนคงได้ยินประโยคคุ้นหูว่า ‘เสียใจด้วยครับ หมอทำเต็มที่แล้ว’ หรือ ‘คนไข้ทนพิษบาดแผลไม่ไหว’ โดยความเป็นจริงคำพูดเหล่านี้ ไม่มีจริง แต่คุณหมอจะอธิบายสาเหตุการเสียชีวิตให้กระจ่าง เพื่อให้ญาติได้ทำความเข้าใจของการจากไป ซึ่งดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้ ละครไทยกลับไม่ใส่ใจ แต่กลับไปเลือกใช้ประโยคดังกล่าว จนทำให้กลายเป็นคำพูดติดปากของบทหมอในละครไปซะแล้ว
ทั้งหมดนี้ก็เป็นก็เป็นข้อผิดพลาดที่ละครไทยไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไหร่ อีกเรื่องคือการใช้ประกันสุขภาพ ที่ในความเป็นจริงคือเรื่องสำคัญ ซึ่งหากในละครต่าง ๆ ได้มีการบอกรายละเอียดหรือวิธีการใช้ไป อาจทำให้คนเกิดความสนใจและสามารถทำตามได้ในกรณีฉุกเฉิน

ล้มแล้วลุกใหม่ จุดไฟในตัวด้วยหนังดี สร้างแรงบันดาลใจ
เดินทางกันมาเกินครึ่งปีแล้ว ในปีนี้ต้องยอมรับเลยว่าเราทุกคนต้องเจอกับปัญหาใหญ่ ๆ หนัก ๆ อย่างโควิด จนทำให้หลายคนเกิดความเครียดสะสม ทั้งเครียดเรื่องโรค เรื่องการใช้ชีวิต เรื่องเศรษฐกิจ และปัญหาอื่น ๆ ที่มันคารังคาสัง
หมดไฟในการทำงาน หนังเหล่านี้อาจช่วยคุณได้
ด้วยปัญหาเหล่านี้คงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมคนจึงเริ่มมีปัญหาหมดไฟกันมากขึ้น เพราะเราไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตแบบที่เคยใช้ จะทำอะไรก็ไม่ได้ทำอย่างใจคิด แต่ก็ยังมีคนอีกเยอะที่ต้องการจะปลุกไฟในตัวเอง อยากจะวางแผนสิ่งที่ต้องการทำในอนาคต (เมื่อโรคระบาดหายไป) และหากใครที่ต้องการกำลังใจเหล่านี้ วันนี้คุณมาถูกที่แล้วล่ะ
เพราะวันนี้เรามาบอกต่อสิ่งดี ๆ กับทุกคน ด้วยการรวบรวมหนังดีที่ช่วยให้คุณได้สร้างพลังบวก และปลุกไฟในตัวกันอีกครั้ง ใครที่กำลังเบื่องานเบื่อเรียนหรือเบื่อความเป็นอยู่ ลองดูหนังเหล่านี้มันอาจจะช่วยให้คุณหายเครียด คลายเบื่อก็ได้
Wonder (ชีวิตมหัศจรรย์วันเดอร์)

เปิดมาด้วยหนังฟีลกู๊ดที่มีเค้าโครงมาจากนิยาย เล่าถึงเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งที่เกิดมาพร้อมโรคเทรเชอร์ คอลลินส์ ที่มีใบหน้าไม่เหมือนกับเด็ก ๆ ทั่วไป ด้วยความเป็นห่วงของพ่อแม่เลยให้เจ้าหนูเรียนแบบโฮมสคูลมาโดยตลอด แต่แล้ววันหนึ่งก็ต้องการให้เจ้าหนูมีสังคมเหมือนคนอื่น ๆ เลยตัดสินใจส่งเข้าโรงเรียนทั่วไป แล้วเรื่องราวต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นมากมาย เด็กชายคนนี้ต้องผ่านทั้งคำล้อเลียน คำดูถูก ไม่มีเพื่อนคบ และอื่น ๆ แต่ด้วยความดีเลยทำให้ตอนจบมันน่าประทับใจสุด ๆ เลยล่ะค่ะ
Miracle in Cell No.7 (ปาฏิหาริย์ห้องขังหมายเลข 7 )

หนังฟีลกู๊ดน้ำตาแตกที่จะทำให้คุณประทับใจและน้ำตาไหลได้ตลอดทั้งเรื่อง นี่เป็นเรื่องราวของ ‘ยงกู’ คุณพ่อที่เป็นออทิสติก ที่กลายเป็นแพะรับบาปในคดีอาชญากรรมจนต้องเข้าคุก ทั้ง ๆ ที่เขาเองไม่ได้มีความผิดอะไร แต่เขามีลูกสาวหน้าตาน่ารักคนหนึ่งที่เขาเป็นห่วงมากและไม่มีคนดูแล เมื่อเพื่อน ๆ ในคุกรู้เข้าก็รีบช่วยหาวิธีพาลูกของเขาเข้ามาเจอเขาให้ได้
The Secret Life Of Walter Mitty (ชีวิตพิศวง ของ วอลเตอร์ มิตตี้)

เล่าถึงเรื่องราวชีวิตการทำงานที่แสนจะน่าเบื่อของ Walter Mitty ที่เขาทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศที่บริษัทนิตยสารแห่งหนึ่ง เขาทุ่มเททั้งชีวิตให้กับการทำงานมาก เขาได้รับเพียงแค่เงินเดือนเท่าที่ควรจะได้เท่านั้น แต่เขากลับไม่ได้รับสิ่งดี ๆ ตอบแทนเลย แล้ววันหนึ่งฟิล์มเลข 25 ที่ใช้สำหรับขึ้นปกนิตยสารก็หายไป ทำให้เขาต้องออกตามหาฟิล์มนี้ ชีวิตของเขาจะมีสีสันเพิ่มขึ้นหรือไม่ ต้องไปติดแล้วนะ
The Gifted (อัจฉริยะสุดดวงใจ)

เป็นหนังที่สะท้อนชีวิตในครอบครัวได้ดีมาก เรื่องราวเล่าถึงแมรี่ เด็กหญิงวัย 7 ขวบ และแฟรงค์น้าชายที่เลี้ยงดูเธอ เพราะแม่ของเธอตายไปและฝากแม่รี่เอาไว้ แฟรงค์ต้องการที่จะเลี้ยงหลานสาวให้เหมือนเด็กปกติทั่วไป เล่นซน มีความสุข ทำในสิ่งที่อยากทำ ซึ่งมันเป็นความคิดที่แตกต่างจากแม่ของแม่รี่ที่ต้องการให้เธอเป็นเด็กอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ
Steve Jobs (2015)

หนังดีที่คนไม่ค่อยพูดถึง สำหรับเรื่องนี้จะพูดถึงความสำเร็จของ สตีฟ จอบส์ ที่เขาสามารถปฏิวัติวงการดิจิทัลของโลกได้ และเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง หนังได้ถ่ายทอดความมุ่งมั่นและการทำงานในการบริหารที่น่าศึกษา ทั้งในเรื่องของคิดความนอกกรอบ การกล้าตัดสินใจ การทำสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ แต่ในเรื่องก็ได้มีการพูดแทรกถึงครอบครัวของเขา ให้มาขยายความดราม่าท้ายเรื่อง มันแสดงให้คนเห็นเลยว่าแม้ว่าเขาจะเป็นคนเก่งแค่ไหน แต่คนเราก็หนีไม่พ้นปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาครอบครัวนั่นเอง
The Founder (2016)

เรื่องราวความสำเร็จของเรย์ คร็อก เซลล์แมนที่ได้รู้จักกับสองพี่น้อง ดิ๊ก และ แม็ค ผู้ก่อตั้งร้านอาหารจานด่วน แมคโดนัลด์ เรย์มองเห็นถึงโอกาสของร้านแห่งนี้เขาเลยตัดสินใจของซื้อแฟรนไชส์ และมันก็กลายเป็นธุรกิจพลิกตลาดแฮมเบอร์เกอร์ในตอนนั้น แต่ด้วยข้อสัญญาต่าง ๆ ทำให้เขาเสียเปรียบอยู่มาก เขาจึงพยายามดิ้นรนหาวิธีเพื่อให้เขาเป็นเจ้าของธุรกิจเพียงคนเดียว และมันก็สำเร็จ กลายเป็นแบรนด์ระดับโลกจนถึงทุกวันนี้
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างหนังดีที่ช่วยปลุกไฟในตัวให้ลุกโชนอีกครั้ง ที่เรานำมาฝากทุกคนกัน แต่ละเรื่องก็จะเป็นอารมณ์หนังแบบ Feel good ที่ช่วยสร้างความสนุก สร้างแรงบันดาลใจ และมีเกร็ดข้อคิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้คุณได้ฉุกคิด บอกเลยว่าหากคุณดูจบจะได้รับพลังงานดี ๆ อย่างแน่นอน แต่หากใครที่อยากคลายเครียด ลองกดสมัคร gclub มาเป็นเพื่อนคลายเครียดก็ได้นะ

ซอมบี้ครองเมือง ปรากฏการณ์หนังผีดิบครองชาร์จแทบทุกสตรีมมิ่ง
ซอมบี้หนังอมตะฆ่าไม่ตาย กี่เวอร์ชั่นคนก็สนใจ
หากลองคิด ๆ ดูแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ หนังที่เรียกได้ว่าครองชาร์จสตรีมมิ่งและเป็นที่รอคอยของคอหนังหลายประเทศทั่วโลก ‘ซอมบี้’ จะต้องเป็นลิสต์หนังแรก ๆ ที่หลายคนเฝ้ารอ เพราะหนังซอมบี้แน่นอนเลยว่าหากมันถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นแล้วปูเรื่องวางเส้นเรื่องจากฝีมือผู้กำกับหลายประเทศ เนื้อเรื่องของมันก็จะมีกลิ่นอายของประเทศนั้น ๆ แฝงอยู่เสมอ
รู้หรือไม่ ซอมบี้มีที่มา แต่มาจากอะไรกันนะ?
แต่คุณหรือไม่ก่อนที่จะกลายมาเป็นซอมบี้ตำนานผีดิบเดินได้ที่เรารู้จัก แก๊งผีเหล่านี้ก็ไม่ได้โนเนมนะ เพราะพวกมันมีที่มาที่ไป พวกมันมาจากตำนานนิทานพื้นบ้านเฮติ ที่ว่ากันว่าศพคนตายทั้งหลายได้ถูกปลุกขึ้นมาให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ในโลกภาพยนตร์ซอมบี้ยุคแรก ๆ จะถูกปลุกขึ้นมาจากพิธีกรรมไสยศาสตร์ แต่เมื่อโลกก้าวไปข้างหน้าคนจึงได้อัปเกรดการกำเนิดของผีให้เป็นความผิดพลาดทางการทดลอง ไวรัสระบาด การแผ่รังสี ที่สำคัญยังได้มีการอัปเกรดความสามารถของผีดิบเดินได้เหล่านี้ด้วย
โดยภาพยนตร์ซอมบี้เรื่องแรกที่ถูกสร้างสรรค์โดย Hollywood คือ White Zombie ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คนให้ความสนอกสนใจกับซอมบี้ เรื่องนี้ศาสตราจารย์ David Castillo มหาวิทยาลัย Buffalo ในรัฐนิวยอร์ก ได้ให้ความเห็นว่า เพราะซอมบี้จะทำให้มนุษย์มองเห็นว่าตัวเองเป็นคนยังไง หากเกิดเรื่องราวต่าง ๆ จะใช้เกณฑ์ตัดสินใจแบบไหน ที่สำคัญยังเป็นข้อคิดให้คนเราต้องร่วมใจกันด้วย

คงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมหนังซอมบี้ในปัจจุบันถึงได้มีการปูเรื่องราวให้มีความแน่น แล้วปิดท้ายด้วยการเล่าที่มาที่ไป นิสัยคน ความเห็นแก่ตัว ความใจดี และความกล้าหาญ มันเลยทำให้คนได้ลุ้นระทึก ไปพร้อม ๆ กับความสนุกสนาน และอารมณ์ความเศร้าที่ครบรส
ซอมบี้ในเกาหลี เหตุใดโดดเด่นกว่าผีพื้นบ้าน
ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้ของวงการหนังเกาหลี แต่คุณก็พอจะสัมผัสได้ว่าหนังหรือซีรีส์เกาหลีในตอนนี้ ‘ซอมบี้เกาหลี’ ได้ท็อปฟอร์มแบบสุด ๆ ทั้งหนังผียุคปัจจุบัน หรือแม้แต่ซอมบี้ยุคโซชอน ที่ได้มีการผสมผสานทั้งความสยองขวัญและเรื่องราวทางการเมืองได้อย่างกลมกล่อม
จมบี/ชมบี คนเกาหลีจะใช้คำนี้เรียกแทนซอมบี้ ส่วนตำนานซอมบี้เกิดขึ้นในเกาหลีเพียงแค่ประมาณ 200 ปีเท่านั้น ทั้งที่จริง ๆ แล้วอายุของประเทศเกาหลียาวนานกว่า 2,000 ปี ทั้งที่มีเวลาให้สะสมตำนานผีท้องถิ่นเยอะมาก แต่ท้ายที่สุดซอมบี้กลับตีตลาดวงการหนังและซีรีส์เกาหลีได้ดีกว่าผีรุ่นพี่หลายเท่าตัว
ส่วนสาเหตุที่ทำให้โดดเด่นเอามาก ๆ คงไม่ใช่เพราะอะไร คงเป็นเพราะในตอนนี้ใคร ๆ ก็ต่างคลั่งไคล้และชื่นชอบซอมบี้ยังไงล่ะ แล้วทำไมเกาหลีที่ขึ้นชื่อเรื่องการตีตลาดสื่อบันเทิงจะไม่จัดทำหนังประเภทนี้ออกมา ง่าย ๆ สั้น ๆ คำเดียวเลยก็คือ ‘มันขายได้’

และย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ภาพยนตร์ที่ทำรายได้แบบถล่มทลาย จนทำให้คนว้าวสุด ๆ คงเป็นเรื่อง Train To Busan (ด่วนนรก ซอมบี้คลั่ง) ภาพยนตร์ซอมบี้ที่แปลกแหวกแนว และเปิดศักราชกลิ่นอายซอมบี้เกาหลี จนทำให้มันโด่งดังแบบสุด ๆ ต่อมาก็คงเป็นศึกการเมืองในยุคโชซอนอย่าง Kingdom (ผีดิบคลั่ง บัลลังก์เลือด) และ Rampant (นครนรกซอมบี้คลั่ง) ที่ให้ความเข้มข้นสมจริงแบบสุด ๆ แถมยังกล้าที่จะเอาเรื่องราวความเน่าเฟะทางการเมืองและความเห็นแก่ตัวของคนเอามาเล่า นั่นยิ่งทำให้คนดูรู้สึกคล้อยตาม สะใจ และสงสารชีวิตของตัวละครต่าง ๆ ได้อย่างเต็มเปา

แต่ท้ายที่สุดภาพยนตร์หรือซีรีส์ซอมบี้ต่าง ๆ ก็มักมีจุดจบที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็สามารถกำจัดไวรัสร้ายได้ บ้างก็ทิ้งปมเอาไว้ให้คนคิดเอาเอง หรือบางเรื่องก็ทิ้งเป็นปมชิ้นใหญ่ ที่ในอนาคตสามารถมาสานต่อให้เป็นจักรวาลซอมบี้ได้
เอาเป็นว่าใครที่ชื่นชอบดูหนังซอมบี้ก็อย่าลืมไปแวะดูหนังตามที่เราแนะนำเอาไว้ หรือหากใครมีหนังซอมบี้เจ๋ง ๆ แหวกแนวมาแนะนำ ก็ลืมมาบอกต่อกันด้วยล่ะ แต่ตอนนี้ยังออกไปดูหนังไม่ได้ก็ซื้อทีวีจอใหญ่มาดูกันให้จุใจก่อน แต่หากใครเบื่อ ๆ การดูหนังช่วงโควิดก็ลองเล่นเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์แก้เบื่อก็ได้นะ